คำขวัญ
ชายแดนแห่งเดียว ป่าเขียวแสนสวย
งามห้วยแก่งหิน แผ่นดินน่าอยู่
ชมหมู่ภูไท
สภาพทางภูมิศาสตร์
อำเภอชานุมานมีลักษณะพื้นที่เป็นที่ราบบางส่วนเป็นลูกคลื่นลอนตื้นหรือเนินเขาเตี้ย ๆพื้นที่ส่วนใหญ่อยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลประมาณ 68 เมตร ลักษณะของดินเป็นดินร่วนปนทรายมีดินลูกรังอยู่บางส่วน และมีแหล่งน้ำสำคัญที่หล่อ เลี้ยงผู้คนในเขตอำเภอชานุมานคือแม่น้ำโขงซึ่งเป็นแม่น้ำนานาชาติและเป็นแม่ น้ำสายหลักที่หล่อเลี้ยงประชาชนในเขตอำเภอชานุมานไม่ว่าจะเป็นการเพราะปลูก พืชตามแนวตลิ่งแม่น้ำโขงและการประมงรวมไปถึงใช้เป็นเส้นทางสัญจรไปมาค้าขาย ระหว่างอำเภอชานุมานและเมืองไซภูทองแขวงสะหวันนะเขตสาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาว นอกจากนั้นยังมีอ่างเก็บน้ำและลำห้วยแก้วแมงที่มีความยาวประมาณ10กม.และ ลำน้ำห้วยทมซึ่งเป็นแหล่งน้ำสำคัญในการดำรงชีวิตของผู้คนในอำเภอชานุมานไม่ ว่าจะเป็นใช้ในการทำเกษตรกรรมเช่น การปลูกพริก มันสำปะหลัง และไม้ผลอื่นๆเช่นเดียวกันกับแม่น้ำโขง และแหล่งน้ำทั้งสองแห่งนี้นอกจากจะใช้เพื่อการอุปโภคบริโภคและเพื่อการเกษตร แล้วยังใช้เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจและเป็นสถานที่ท่องเที่ยวอีกด้วยเช่นเขื่อน ริมโขงอำเภอชานุมาน แก่งต่างหล่าง และบริเวณอ่างเก็บน้ำห้วยแก้วแมง เป็นต้น นอกจากนั้นบริเวณที่ราบยังใช้เลี้ยงสัตว์และเพาะปลูกข้าวและพืชต่างๆจพริก มันสำปะหลัง ยางพารา ข้าวโพด เป็นต้น เช่นบริเวณนิคมเกษตรกรรมทหารผ่านศึกอำเภอชานุมานและบริเวณที่ราบริมลำน้ำห้วยแก้วแมง
ทิศเหนือ จรดกับอำเภอดอนตาลจังหวัดมุดาหาร
ทิศตะวันออก ติดกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวโดยมีแม่น้ำโขงกั้นเขตแดนระหว่างประเทศ
ทิศใต้ จรดกับอำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานีและอำเภอปทุมราชวงศา
ทิศตะวันตก จรดกับอำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร และอำเภอเสนางคนิคม จังหวัดอำนาจเจริญ
แม่น้ำโขง (บน) และอ่างเก็บน้ำห้วยแก้วแมง (ล่าง) แหล่งน้ำสำคัญที่หล่อเลี่ยงผู้คนในเขตอำเภอชานุมาน
การปลูกพืชแบบขั้นบันใดริมตลิ่งแม่น้ำโขงและการหาปลาในแม่น้ำโขง
ข้อมูลด้านประชากร (พ.ศ.2555)
ในปัจจุบันอำเภอชานุมานมีประชากรทั้งสิ้น 38,796 คน จำนวนบ้านเรือน 10,103 หลังคาเรือน และมีชนเผ่าต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นชาวภูไท ข่า มีการประกอบอาชีพด้านการเกษตรเป็นหลัก ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธร้อยละ 99 ที่เหลือนับถือศาสนาคริสต์แบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 5 ตำบล 59 หมู่บ้าน ได้แก่
1. ตำบลชานุมาน 15 หมู่บ้าน
2. ตำบลโคกสาร 9 หมู่บ้าน
3. ตำบลคำเขื่อนแก้ว 12 หมู่บ้าน
4. ตำบลโคกก่ง 13 หมู่บ้าน
5. ตำบลป่าก่อ 13 หมู่บ้าน
การตั้งถิ่นฐานของอำเภอชานุมาน
การตั้งถิ่นฐานของอำเภอชานุมานมีขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยมีชาวลาวคนหนึ่งได้มาศึกษาเล่าเรียนที่เมืองหลวงประเทศไทยโดยทางราชการลาว ส่งเข้ามา เมื่อจบการศึกษาแล้วก็กลับประเทศของตน แต่เป็นระยะเวลาที่ฝรั่งเศสเข้ายึดครองประเทศลาว ชายผู้นี้เกิดความไม่พอใจจึง ไม่ต้องการเป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศสจึงเดินทางมาติดต่อกับรัฐบาลไทย จึงขอพึ่งพระบรมโพธิสมภารและขอสร้างเมืองอยู่ริมฝั่งแม่น้ำโขงของไทยที่บ้านท่ายักษ์คุ เมื่อทางการไทยได้อนุญาตแล้วก็ได้กลับประเทศลาวนำสมัครพรรคพวกหนีฝรั่งเศสมาอยู่ที่ฝั่งไทย บริเณบ้านท่ายักษ์ขุ และในปี พ.ศ. 2422 รัชกาลที่ 5 โปรดให้ตั้งบ้านท่ายักษ์ขุขึ้นเป็นเมืองชานุมารมณฑลขึ้นกับเมืองอุบลราชธานี โดยมีพระปลัดซ้าย (เคน) บุตรท้าวมนฑาธิราชเจ้าเมืองลำเนาหนองปรือ เป็นเจ้าเมืองชานุมารมณฑลในตำแหน่งพระผจญจัตตุรงค์ แต่ในครั้งนั้นพระผจญจัตตุรงค์กลับพาไพร่พลไปตั้งที่บ้านท่ากระดานไม่ได้ตั้งที่บ้านยักษขุตามที่ขอไว้เมื่อพระบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสิทธิ์ประสงค์ได้เป็นข้าหลวงใหญ่ต่างพระองค์หัวเมืองอุบลราชธานี ได้เกิดการปฏิรูปการปกครองครั้งใหญ่ ซึ่งก็ทำให้เมืองชานุมารมณฑลถูกลดฐานนะเป็นอำเมืองชานุมารมณฑลขึ้นกัลเมืองอุบลราชธานี และในปี 2455 ได้เกิดข้าวยากหมากแพงและเกิดโรคระบาดร้ายแรง ผู้คนจึงอพยพไปตั้งบ้านเมืองใหม่อยู่ทางจังหวัดหนองคายเป็นจำนวนมากทำให้พลเมืองเหลือน้อย อำเภอชานุมารจึงถูกลดลงเป็นกิ่งอำเภอขึ้นต่ออำเภอเขมราฐ จึงถึงปี พ.ศ.2501 ทางราชการจึงยกฐานะขึ้นเป็นอำเภออีกครั้ง เรียกว่าอำเภอชานุมาน โดยเปลี่ยนคำว่า ชานุมาร (ผู้บิดเบือน) เป็น ชานุมาน (ผู้มีความมานะพยามยาม) และในปี 2536 อำเภอชานุมานได้ขึ้นกับจังหวัดอำนาจเจริญถึงปัจจุบัน
อาคารที่ว่าการอำเภอชานุมานหลังเก่าปัจจุบันใช้เป็นศูนย์สืบสวนปราบปรามและผลักดัน-ส่งกลับ ตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดอำนาจเจริญ และสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเทศบาลตำบลชานุมาน
ที่ว่าการอำเภอชานุมานแห่งใหม่
ที่มาของชื่ออำเภอชานุมานตามตำนานนิทานเรื่องยักษ์ขุ
ในกาลครั้งที่พระลักษณ์พระราม พานางสีดาเดินดงไปกลางป่าปรากฎมียักษ์ชื่อทศกัณฐ์ลักพาตัวนางสีดาไป ทีแรกขังตัวไว้ที่ริมแม่น้ำโขง นางสีดาร้องไห้คิดพระราม บริเวณนั้นจึงเรียกว่าท่านางสีดา หรือบ้านนาสีดาในปัจจุบัน ยักษ์ทศกัณฐ์กลัวพระรามจะได้ยินจึงพานางสีดาเหาะข้ามแม่น้ำโขงไปขังไว้ที่ประสาทเฮือนหิน ฝั่งตรงข้ามบ้านท่ายักษ์ขุ อำเภอชานุมาน จังหวัดอำนาจเจริญ ปัจจุบันเรียกบ้านเฮือนหิน แขวงสะหวันนะเขต ประเทศลาว) พระลักษณ์พระรามตามมาทันจึงต่อสู้กับทศกัณฐ์ ม้าของพระรามกระโดเตะปราสาทจนพังดังที่ปรากฏในปัจจุบัน ในขณะท่สู้รบกันอยู่นั้น นางสีดาหนีมาอยู่เกาะกลางแม่น้ำโขงแล้วปะแป้งแต่งหน้ารอพระราม จึงเรียกเกาะนี้ว่า ดอนสีนวด หรือดอนชะโนด ในที่สุดเมื่อทศกัณฐ์ยอมแพ้จึงคุกเข่าขอชีวิตโดยคุกเข่ากราบไปที่ประสาทเฮือนหิน บริเวณคุกเข่าจึงเรียกท่ายักษ์คุกเข่าหรือท่ายักษ์ขุจนกระทั่งเป็นที่มาของชานุมาร รอยที่ยักษ์คุกเข่าปรากฎขึ้นเป็นหนองน้ำขนาดใหญ่ 3 แห่ง ให้เห็นกระทั่งปัจจุบัน นิทานเรื่องยักษ์ขุมีหลายสำนวน แต่ทุกเรื่องก็เป็นการอธิบายถึงพื้นที่ต่าง ๆ ในลุ่มแม่น้ำโขงและอำเภอชานุมาน โดยผูกเรื่องเข้ากับบนิทานรามเกียรติ์สำนวนลาวสองฝั่งโขง
ดอนสีนวดหรือดอนชะโนด เกาะกลางแม่น้ำโขงขนาดใหญ่ที่ในนิทานกล่าวไว้ว่าเป็นที่ที่
นางสีดามาปะแป้งแต่งหน้ารอพระราม
หนองน้ำที่กล่าวกันว่าเป็นรอยที่ยักษ์คุกเข่าในตำนานนิทานเรื่องยักขุอยู่ใน
บริเวณวัดยักษ์คุธรรมานุสรณ์
จุดเริ่มต้นการเปลี่ยนแปลงของอำเภอชานุมาน
อำเภอ ชานุมานนั้นเป็นอำเภอเล็กๆอำเภอหนึ่งในจังหวัดอำนาจเจริญซึ่งในอดีตนั้นเป็น อำเภอที่ทุรกันดารการสัญจรไปมาระหว่างอำเภอชานุมานกับอำเภอหรือจังหวัดใกล้ เคียงค่อนข้างลำบากเพราะสภาพถนนในสมัยนั้นเป็นถนนแคบๆซ้ำยังเป็นหลุมเป็นบ่อ แต่พอราวๆปีพ.ศ.240 ทางราชการได้ปรับปรุงซ่อมแซมทางหลวงหมายเลข 2034 และ จัดทำการขยายถนนในเขตเทศบาลและปรับปรุงใหม่ทำให้มีการติดต่อค้าขายไปมาหาสู่ ระหว่างอำเภอชานุมานกับอำเภอและจังหวัดใกล้เคียงเป็นไปอย่างสะดวกสบายขึ้น รวมไปถึงมีการเปิดจุดผ่อนปรนชายแดนระหว่างประเทศไทยกับสาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาวในปีพ.ศ.2549 ที่อำเภอชานุมานก็ยิ่งทำให้ มีการไปมาค้าขายกับประเทศเพื่อนบ้านได้สะดวกยิ่งขึ้น ทำให้มีการลงทุนต่างๆหลั่งไหลเข้ามาไม่ว่าจะเป็นการตั้งโรงงานผลิตน้ำแข็ง น้ำดื่ม การตั้งโรงงานเย็บผ้า และการลงทุนอื่นๆ ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ล้วนก้อให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจของอำเภอชานุมานรวม ไปถึงมีการสร้างงานสร้างรายได้ให้กับคนในท้องที่อีกด้วย ซึ่งสิ่งเหล่านี้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านเศรษฐกิจการลงทุน ด้านการคมนาคมขนส่งและอีกหลายๆอย่างรวมไปถึงวิถีชีวิตของผู้คนในอำเภอชานุ มานซึ่งจากแต่เดิมส่วนมากจะประกอบอาชีพเกษตรกรรมและทำการประมงแต่ทุกวันนี้ ผู้คนบางส่วนก็หันมาประกอบอาชีพในโรงงานบ้างก็ขับเรือรับจ้างส่งผู้คนหรือ ส่งสินค้าข้ามไปมาระหว่างสองประเทศ ซึ่งทำให้อำเภอชานุมานมีการเปลี่ยนแปลงและขยายตัวขึ้นจากเมื่อก่อนมาก
จุดผ่อนปรนชายแดนไทย-ลาวและการขนส่งส่งสินค้าระหว่างประเทศไทยกับสปป.ลาว
โรงงานในเขตพื่นที่อำเภอชานุมาน
|