บทที่ ๑
บทนำ
การจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่น เป็นการกำหนดแนวทางการพัฒนาท้องถิ่นที่มีความเหมาะสมกับสภาวการณ์ของท้องถิ่นในปัจจุบัน เพื่อให้เกิดผลที่จะนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายนโยบายที่ผู้บริหารท้องถิ่นได้กำหนดและนำเสนอไว้ต่อประชาชนก่อนกระบวนการเลือกตั้ง แต่อย่างไรก็ตามในการจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่นจะไม่สามารถบรรลุผลได้อย่างยั่งยืนหากขาดการบูรณาการกับยุทธศาสตร์ชาติ ยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัด และยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่จังหวัดในภาพรวม ทั้งนี้เนื่องจากการพัฒนาที่ตอบสนองต่อปัญหา หรือศักยภาพในบางประเด็นที่จะต้องอาศัยการประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ในทุกระดับ
ดังนั้นในการจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่นจำเป็นต้องมีการประสานยุทธศาสตร์การพัฒนาในทุกระดับเพื่อให้การดำเนินงานประสานสอดคล้องและสนับสนุนกัน เพื่อแปลงนโยบายนำไปสู่การจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่นองค์การบริหารส่วนจังหวัดอำนาจเจริญที่มีความเชื่อมโยงกันของการพัฒนาในจังหวัด และยุทธศาสตร์จังหวัดในรายละเอียดต่อไป
แผนพัฒนาท้องถิ่นตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการจัดทำแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2548มี 3 ประเภท คือ
1. แผนยุทธศาสตร์การพัฒนา หมายความว่า แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่กำหนดยุทธศาสตร์ และแนวทางการพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งแสดงถึง วิสัยทัศน์ พันธกิจ และจุดมุ่งหมายเพื่อการพัฒนาในอนาคต โดยสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนการบริหารราชการแผ่นดิน ยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด อำเภอ และแผนชุมชน
2. แผนพัฒนาสามปี หมายความว่า แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา อันมีลักษณะเป็นการกำหนดรายละเอียดแผนงาน โครงการพัฒนาที่จัดทำขึ้นสำหรับงบประมาณแต่ละปี ซึ่งมีความต่อเนื่องและเป็นแผนก้าวหน้าครอบคลุมระยะเวลาสามปีโดยมีการทบทวนเพื่อปรับปรุงเป็นประจำทุกปี
3. แผนการดำเนินงาน หมายความว่า แผนการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่แสดงถึงรายละเอียดแผนงาน โครงการพัฒนาและกิจกรรมที่ดำเนินการจริงทั้งหมดในพื้นที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่กำหนดไว้
วัตถุประสงค์ของการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา
1. เพื่อเป็นเครื่องมือในการประสานแผนพัฒนาท้องถิ่นภายในจังหวัด
2. เพื่อจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาที่ตอบสนองต่อปัญหาและความต้องการของประชาชนในภาพรวมและสอดคล้องกับสภาพพื้นที่อย่างแท้จริง
3. เพื่อเป็นกรอบแนวทางในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น “แผนพัฒนาสามปี”
4.
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ การพัฒนา บุคลากร พัฒนาคุณภาพ สาธารณูปโภค และการบริหารการจัดการที่ดี
5. เพื่อประสานการพัฒนาให้สอดคล้องทั้งในระดับส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ขั้นตอนในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา
เทศบาลตำบลชานุมาน จัดทำ/ทบทวนแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา เพื่อกำหนดทิศทางการพัฒนาและห้วงระยะเวลาให้ครอบคลุมแผนพัฒนาสามปี ซึ่งมีแนวทางดำเนินการดังนี้
1. เตรียมการจัดทำ/ทบทวนแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา
1.1 การจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาจะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จก่อนการจัดทำแผนพัฒนา สามปี ดังนั้น เมื่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้รับกรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัดแล้ว (ใช้กรอบยุทธศาสตร์ฯ เดียวกันกับการจัดทำแผนพัฒนาสามปี) จะต้องกำหนดระยะเวลาดำเนินการให้เหมาะสมเพื่อให้การจัดทำแผนพัฒนาสามปีแล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนด
1.2 การจัดประชุมประชาคมท้องถิ่น ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวข้อง เพื่อแจ้งแนวทางการพัฒนา รับทราบปัญหา ความต้องการ ประเด็นการพัฒนา และประเด็นที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนความช่วยเหลือทางวิชาการและแนวทางปฏิบัติที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ เพื่อนำมากำหนดแนวทางการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา อาจจัดในคราวเดียวกันกับการจัดประชุมประชาคมท้องถิ่นการจัดทำแผนพัฒนาสามปี โดยแจ้งวัตถุประสงค์และนำไปสู่การจัดทำแผนพัฒนาของแต่ละประเภทได้อย่างสมบูรณ์และมีประสิทธิภาพ
1.3 ทบทวนแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา โดยพิจารณาวิสัยทัศน์ พันธกิจ จุดมุ่งหมายเพื่อการพัฒนา ยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนา ว่าควรจะต้องปรับปรุง แก้ไขหรือคงไว้ในประเด็นใด เพื่อจัดทำเป็นแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาฉบับใหม่
1.4 สำหรับข้อมูลในการจัดทำ/ทบทวนแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้พิจารณาจากปัญหาความต้องการของประชาชน นโยบายของผู้บริหารท้องถิ่น ยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด/กลุ่มจังหวัด คำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรี แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ข้อมูลพื้นฐานจากหน่วยงานต่างๆ เช่น ข้อมูล จปฐ. กชช 2 ค ผังเมืองหรือผังตำบล เมืองน่าอยู่ วัฒนธรรมของท้องถิ่น เป็นต้น
ในการจัดเก็บข้อมูล เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องอาจจัดเก็บข้อมูลในคราวเดียวกันเพื่อใช้ประโยชน์ในการจัดทำแผนพัฒนาทั้ง 2 ประเภทได้ แต่หากมีประเด็นใดไม่เกี่ยวเนื่องกันก็ให้แยกข้อมูลให้ชัดเจน
1.5 ใช้หลักการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา โดย
1.5.1 เปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการเสนอปัญหา ความต้องการวิเคราะห์ศักยภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (SWOT Analysis) ตลอดจนการกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ จุดมุ่งหมายเพื่อการพัฒนายุทธศาสตร์ และแนวทางการพัฒนา
1.5.2 ส่งเสริมสนับสนุนการจัดทำแผนชุมชนให้เกิดขึ้นในทุกพื้นที่โดยพิจารณานำปัญหา/ความต้องการของชุมชนมาพิจารณาประกอบการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา
2. คณะกรรมการสนับสนุนการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นจัดทำร่างแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา และคณะกรรมการพัฒนาท้องถิ่นพิจารณาร่างแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา รูปแบบเค้าโครงแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาให้ถือปฏิบัติ ตามหนังสือกระทรวงมหาดไทย ด่วนที่สุด ที่ มท 0810.2/ว 4830 ลงวันที่ 22 พฤศจิกายน 2556
3. ผู้บริหารท้องถิ่นพิจารณาอนุมัติร่างแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาและประกาศใช้แผนยุทธศาสตร์ การพัฒนา
4. เมื่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประกาศใช้แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาแล้ว ให้ผู้บริหารท้องถิ่นนำไปปฏิบัติ รวมทั้งแจ้งสภาท้องถิ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และประกาศให้ประชาชนในท้องถิ่นทราบโดยทั่วกันภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ประกาศใช้และปิดประกาศโดยเปิดเผยไม่น้อยกว่าสามสิบวัน
ประโยชน์ของการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา
1. เป็นเครื่องมือในการประสานแผนพัฒนาท้องถิ่นภายในจังหวัด
2. จัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาที่ตอบสนองต่อปัญหาและความต้องการของประชาชนในภาพรวมและสอดคล้องกับสภาพพื้นที่อย่างแท้จริง
3. เป็นกรอบแนวทางในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น “แผนพัฒนาสามปี”
4. เพิ่มประสิทธิภาพ การพัฒนา บุคลากร พัฒนาคุณภาพ สาธารณูปโภค และการบริหารการจัดการที่ดี
5. ประสานการพัฒนาให้สอดคล้องทั้งในระดับส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น